เครื่องสำรองไฟ (UPS)

เครื่องสำรองไฟ หรือ UPS (Uninterruptible Power Supply) ที่ Jaypowerbattery เรามีสินค้าให้เลือกซื้อหลายรุ่น หลายยี่ห้อ/แบรนด์ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ สำหรับใช้ทั้งในบ้าน ออฟฟิศ หรือโรงงานอุตสาหกรรม พร้อมทีมให้คำปรึกษาในการเลือกซื้อ และบริการหลังการขาย ครบจบในที่เดียว!

เครื่องสำรองไฟ คืออะไร

เครื่องสำรองไฟ หรือ UPS คือ อุปกรณ์ที่ใช้จ่ายไฟให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ในเวลาที่เกิดไฟตก ไฟดับ หรือไฟกระชาก เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ เครื่องสำรองไฟจะมีแบตเตอรี่สำรองในตัว เมื่อไฟดับ แบตเตอรี่จะจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ที่เชื่อมอยู่ได้ระยะเวลาหนึ่ง ก่อนที่จะดับไป ช่วยให้มีเวลาบันทึกข้อมูลหรือปิดเครื่องอย่างปลอดภัย

อุปกรณ์ไฟฟ้าที่แนะนำใช้ UPS

  • คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง
  • เซิร์ฟเวอร์และอุปกรณ์เน็ตเวิร์ค
  • โทรศัพท์และระบบสื่อสาร
  • อุปกรณ์ทางการแพทย์
  • ระบบรักษาความปลอดภัย เช่น กล้องวงจรปิด, ประตูคีย์การ์ด
  • อุปกรณ์ที่ต้องทำงานตลอด 24 ชั่วโมง

เครื่องสำรองไฟ UPS มีกี่แบบ?

1. เครื่องสำรองไฟแบบ Standby/Offline

“เครื่องสำรองไฟแบบ Standby หรือ Offline” เครื่องสำรองไฟที่ราคาถูกสุดใน UPS ทั้งสามประเภท เหมาะสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป หลักการทำงานคือเวลาที่ไฟปกติ เครื่องจะจ่ายไฟจากแหล่งจ่ายไฟหลักให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยตรง และเมื่อเกิดไฟดับหรือไฟตก ก็จะสลับไปใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ในตัวเครื่องสำรองไฟแทน ใช้เวลาสลับประมาณ 4-10 มิลลิวินาที

2. เครื่องสำรองไฟแบบ Line-Interactive

จุดเด่นของ “เครื่องสำรองไฟแบบ Line-Interactive” คือมีวงจรปรับแรงดันอัตโนมัติในตัว ไม่ว่าแรงดันไฟฟ้าขาเข้าจะผันผวนแค่ไหน ก็สามารถปรับแต่งให้แรงดันไฟฟ้าที่ส่งไปเลี้ยงอุปกรณ์ปลายทางมีความเสถียรได้ระดับหนึ่ง และเมื่อเกิดไฟตก ไฟดับ เครื่องก็จะทำงานคล้ายกับ UPS แบบ Standby เหมาะสำหรับใช้กับอุปกรณ์ที่ไวต่อแรงดันไฟฟ้าผันผวนปานกลาง

3. เครื่องสำรองไฟแบบ Online/Double Conversion

“เครื่องสำรองไฟ Online หรือ Double Conversion” เครื่องสำรองไฟที่จะแปลงไฟ AC จากแหล่งจ่ายไฟหลักให้เป็น DC แล้วนำไปประจุเข้าแบตเตอรี่ไว้ตลอดเวลา และก็แปลงไฟ DC จากแบตเตอรี่ให้เป็น AC เพื่อจ่ายให้อุปกรณ์ที่ต่อพ่วงอยู่ ช่วยให้แรงดันไฟฟ้าที่ได้มีความเสถียรสูง ไม่มีสัญญาณรบกวน

เมื่อเวลาเกิดไฟตก ไฟดับ ไฟเกิน หรือไฟกระชาก เครื่องสำรองไฟก็จะจ่ายไฟที่แปลงมาจากแบตเตอรี่ให้อุปกรณ์ได้ต่อเนื่อง ไม่มีสะดุด เหมาะมากสำหรับใช้กับเซิร์ฟเวอร์ ศูนย์ข้อมูล หรืออุปกรณ์ที่มีความสำคัญและอ่อนไหวต่อคุณภาพของไฟฟ้าสูง ๆ

วิธีเลือกซื้อเครื่องสำรองไฟ ให้เหมาะกับการใช้

เข้าใจความต้องการและการใช้งานของคุณ

ก่อนอื่น ประเมินว่าอุปกรณ์ที่เราต้องการป้องกันมีอะไรบ้าง แต่ละอันกินไฟเท่าไหร่ และเมื่อเวลาเกิดไฟดับ ต้องการให้อุปกรณ์เหล่านั้นทำงานต่อไปได้นานแค่ไหนก่อนจะปิดเครื่อง เช่น ต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานต่อได้อีก 15-30 นาที

เช็คคุณสมบัติกับ feature ที่จำเป็น

เครื่องสำรองไฟแต่ละยี่ห้อ/รุ่น จะมาพร้อมกับ feature ที่ต่างกัน เช่น บางรุ่นมี LCD แสดงสถานะการทำงาน, การแจ้งเตือนผ่านเสียงหรือการส่งอีเมล, พอร์ต USB สำหรับเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์, ซอฟต์แวร์ในการตั้งค่าและจัดการ UPS, ระบบปิดเครื่องอัตโนมัติเมื่อแบตเตอรี่ใกล้หมด, การกรองสัญญาณรบกวน และอื่น ๆ ให้เช็คว่า feature อะไรบ้างที่จำเป็นต้องใช้จริง ๆ

เทียบราคารุ่น UPS หลาย ๆ ยี่ห้อที่สเปคใกล้เคียงกัน

เมื่อเจาะจงได้ว่าต้องการเครื่องสำรองไฟขนาดเท่าไหร่ มี feature อะไรบ้าง ก็ให้เทียบราคาระหว่างแบรนด์และรุ่นที่มีสเปคใกล้เคียงกัน แนะนำเช็คเรื่อง warranty กับบริการหลังการขายด้วย

ซื้อเครื่องสำรองไฟ (UPS) ที่ Jaypowerbattery

ที่ Jaypowerbattery เรามีสินค้าเครื่องสำรองไฟหลายแบบ ทั้งสำหรับใช้ในบ้าน สำนักงาน หรืออุตสาหกรรม จากยี่ห้อ/แบรนด์ชั้นนำ มาตรฐานคุณภาพระดับสากล พร้อมการรับประกันสินค้าและบริการหลังการขาย

เรามีบริการออกแบบและติดตั้งระบบสำรองไฟ เพื่อธุรกิจหรืออุตสาหกรรม ไม่ว่าจะระบบสำรองไฟสำหรับเซิร์ฟเวอร์ ดาต้าเซ็นเตอร์ อุปกรณ์การแพทย์ หรือสายการผลิตในโรงงาน ยินดีให้คำปรึกษาและวางระบบที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล ติดต่อได้ที่

คำถามที่พบบ่อย (FAQ) เครื่องสำรองไฟ

ระหว่าง UPS สำหรับใช้ที่บ้าน และใช้ในธุรกิจ/อุตสาหกรรม ต่างกันยังไง?

UPS สำหรับใช้ในบ้านทั่วไป ส่วนมากเป็นเครื่องสำรองไฟขนาดเล็ก เน้นใช้เฉพาะที่ ต่อกับอุปกรณ์ไม่กี่ชิ้น เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ โมเด็ม ส่วน UPS สำหรับธุรกิจหรืออุตสาหกรรม จะมีขนาดใหญ่กว่า สำหรับรองรับอุปกรณ์ที่หลากหลาย กินไฟเยอะ และมี feature ที่ซับซ้อนกว่า เช่น มีซอฟต์แวร์ในการควบคุม, สามารถเชื่อมต่อเป็นเครือข่าย, ใช้ระบบ 3 เฟส รวมถึงต้องมีความทนทานสูง ใช้ต่อเนื่องนาน ๆ ได้

เริ่มจากรวมค่า watt ของอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งหมดที่ต้องต่อเข้ากับ UPS (ปกติจะระบุไว้ที่ฉลากหลังเครื่อง) จากนั้นเผื่อ watt เพิ่มอีก 20-25% จะได้ไม่โอเวอร์โหลดเกินไป และจาก watt รวมที่ได้ ให้เทียบกับขนาด VA ส่วนมากอยู่ในอัตราส่วน 1.4 เท่าของ watt

ตัวอย่าง ถ้าอุปกรณ์กินไฟรวม 500 watt ให้เผื่อเป็น 625 watt (500 x 1.25) หารด้วย 0.7 (หรือคูณด้วย 1.4) จะได้ประมาณ 892 VA แนะนำควรเลือกเครื่องสำรองไฟที่มีขนาดใกล้เคียงกัน เช่น 1000 VA ไปเลย

  • ระบบ Surge Protection ป้องกันไฟกระชากที่เกิดจากฟ้าผ่าหรือแรงดันเกิน
  • วงจรกรองสัญญาณรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (EMI/RFI Noise Filtering)
  • ระบบรักษาระดับแรงดันไฟฟ้าให้คงที่ (AVR – Automatic Voltage Regulation) ป้องกันอุปกรณ์เสียหายจากไฟตกหรือไฟเกิน
  • ฟิวส์ป้องกันกระแสไฟฟ้าลัดวงจร
  • ระบบตัดไฟเข้าเมื่ออุปกรณ์ต่อพ่วงหยุดใช้ ช่วยประหยัดพลังงาน

แบตเตอรี่ในเครื่องสำรองไฟเสื่อมจากการใช้ตามอายุการใช้งาน ทั้งผู้ใช้ทั่วไปและช่างเทคนิคสามารถทำการเปลี่ยนแบตเตอรี่ด้วยตัวเองได้ ตามขั้นตอนคร่าว ๆ นี้

  1. ปลดสายไฟ AC ออกจากเต้ารับ แล้วถอดแผงครอบด้านหลัง/ด้านข้างเครื่อง UPS ออก
  2. ถอดสายที่ต่อเข้ากับขั้วแบตเตอรี่เก่าออก ค่อย ๆ นำแบตชุดเก่าออกมา ระวังอย่าให้ลัดวงจร
  3. เตรียมแบตเตอรี่ชุดใหม่ที่มีแรงดันกับความจุเท่ากับชุดเดิม (สังเกตจากตัวเลขบนฉลาก)
  4. ต่อสายเข้ากับขั้วบวก (สีแดง) และขั้วลบ (สีดำ) ของแบตเตอรี่ ถ้ามีแบตหลายก้อน ให้นำมาต่อแบบขนานกันเป็นชุด
  5. วางชุดแบตเตอรี่ใหม่เข้าที่เดิม ปิดแผงครอบให้เรียบร้อย เสียบปลั๊กไฟ AC แล้วทดสอบการทำงานของ UPS อีกครั้งก่อนนำไปใช้

แต่ถ้าไม่มั่นใจหรือไม่ถนัดในการเปลี่ยนแบตเตอรี่ ก็แนะนำให้ติดต่อศูนย์บริการหรือทีมช่างของผู้ผลิต/ผู้จำหน่าย UPS โดยตรงครับ

  • ทำความสะอาดตัวเครื่องสำรองไฟ เช็ดฝุ่นละอองด้วยผ้าแห้ง อย่าให้มีฝุ่นหรือวัตถุแปลกปลอมเข้าไปอุดช่องระบายอากาศ
  • ตรวจเช็ค UPS สังเกตไฟแสดงสถานะการทำงาน หรือฟังเสียงเตือนผิดปกติ ทดลองสับสวิตช์ปิด-เปิด ลองถอดปลั๊กไฟดูว่า UPS สลับมาใช้ไฟจากแบตเตอรี่ได้ไหม
  • ตรวจระดับน้ำกลั่นในแบตเตอรี่ (สำหรับรุ่นที่มีจุกเติมน้ำ) เติมด้วยน้ำกลั่นให้ได้ระดับที่กำหนด ไม่ใช้น้ำธรรมดาหรือของเหลวอื่น ๆ
  • สำหรับผู้ใช้ UPS กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้ติดตั้งซอฟต์แวร์ของ UPS ไว้ด้วย เพื่อใช้ดูสถานะการทำงานและควบคุมเครื่องสำรองไฟได้ผ่านหน้าจอ
  • เลี่ยงการนำ UPS ไปวางในที่ที่มีความร้อนสูง ชื้น หรือมีแสงแดดส่องถึง ควรวางให้ตัวเครื่องโล่งโปร่งเพื่อระบายความร้อนได้ดี
  • อย่าใช้ UPS เกินกำลังไฟสูงสุดที่แนะนำ (overload) และอย่าปล่อยให้แบตเตอรี่หมดจนตัดการทำงานบ่อย ๆ รีบชาร์จแบตฯ ทันทีเมื่อไฟฟ้าปกติ
  • ถ้าไม่ได้ใช้เครื่องสำรองไฟนาน ๆ เช่น 3-6 เดือน แนะนำเสียบปลั๊กไฟชาร์จแบตเตอรี่ทิ้งไว้ 12-24 ชั่วโมง ก่อนนำมาใช้